แตกต่างเพื่อเติมเต็ม

ระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อสังคมมีทั้งหญิงและชายเป็นองค์ประกอบทั้งหญิงชายจึงควรได้เป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

ภาพ / บทความโดย : นางสาวจิราภา นามนุ
สิ่งที่ใช่ และไม่ใช่

สิ่งที่ใช่และไม่ใช่ ในความเสมอภาค สิ่งที่ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่เรื่องผู้หญิง สิ่งที่ใช่ศึกษาความไม่เท่าเทียมและความแตกต่างระหว่างชายหญิง

ภาพ / บทความโดย : นางสาวจิราภา นามนุ
เป็นทารกหญิง แท้จริงแสนลำบาก

กว่าที่ทารกเพศหญิงในครรภ์จะมีโอกาสได้ออกมาดูโลกนั้นแสนยากลำบากในบางสังคมที่นิยมการมีลูกผู้ชาย และในบางครอบครัวที่มีใจคอโหดร้าย โดยมีเทคโนโลยีอุลตร้าซาวน์เป็นอุปกรณ์สนับสนุน คำว่า gendercide ในภาษาอังกฤษนั้นหมายถึงการฆาตกรรมเพศใดเพศหนึ่งอย่างเป็นกอบเป็นกำ ถ้าเลือกฆ่าเพศหญิงก็เรียกว่า femicide ถ้าชายก็เรียกว่า androcide และถ้าฆ่าเด็กก็เรียกว่า infanticide

แหล่งที่มา : วรากรณ์ สามโกเศศ
R2R

R2R คือ การทำวิจัยในงานประจำ เป็นกระบวนการ แสวงหาความรู้ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบของผู้ปฏิบัติ งานประจำในการแก้ปัญหา และยกระดับการพัฒนา งานที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยมีผลลัพธ์ เป็นการพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน อันส่งผล กระทบในการบรรลุเป้าประสงค์สูงสุดขององค์กร

ภาพ / บทความโดย : -
การขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการป้องกันการค้ามนุษย์

ด้วยกระทรวงการพัมนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายสำหรับการปองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

แหล่งที่มา : สป.พม.
LGBT สิทธิมนุษยชน และการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัว

คำว่า LGBT ย่อมาจาก Lesbian Gay Bisexual and Transgender (หญิงรักหญิง ชายรักชาย ผู้ที่รักสองเพศ และผู้ที่ข้ามเพศ) แปลโดยรวมในภาษาไทย หมายถึง กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (gender diversity) หรือ กลุ่มเพศที่สาม LGBT เป็นคำศัพท์และแนวคิดที่พัฒนาในประเทศตะวันตกช่วงศตวรรษที่ ๒๐ โดยอธิบายถึงผู้ที่มีความชอบและการแสดงออกทางเพศอีกกลุ่มหนึ่ง นอกเหนือกจากกลุ่มคนที่รักต่างเพศ (heterosexual) นอกจากนั้น ยังมีคำศัพท์อื่นที่ใช้เรียกกลุ่ม LGBT เช่น Queer ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่พัฒนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีผู้นิยมใช้อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับ LGBT

ภาพ / บทความโดย : -
สตรีกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผู้หญิง นอกจากจะทำเรื่องในบ้านแล้ว ผู้หญิงที่ต้องทำงานในชุมชนจำเป็นต้องฝึกพูดและฟังผู้อื่น ผู้หญิงเมื่อรวมตัวกันได้แล้วจะเป็นที่พึ่งของชุมชน การต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐ หรือนักการเมืองก็ทำได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะผู้ชายโอกาสที่จะเกิดการเผชิญหน้ามีมาก ส่วนผู้หญิงจะสามารถเจรจาต่อรองได้ดีกว่า ผู้หญิงจึงเป็นที่พึ่งของชุมชนและสามารถทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไว้ได้ พลังของผู้หญิงจึงไม่ใช่การก้าวก่ายสิทธิคนอื่น แต่เป็นการทำให้ผู้อื่นเห็นประโยชน์ เห็นโทษ ของการรุกรานทรัพยากร เป็นเรื่องที่ผู้หญิงมีความสามารถทำได้

แหล่งที่มา : -
เอกสารประกอบการเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่อง

รายงานนี้ต้องการนำเสนอผลวิเคราะห์ปรากฎการณ์ที่ชี้ให้เห็นสถานะของสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ในมิติหญิงชาย (gender perspectives) และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ โดยวิเคราะห์จากปรากฏการณ์ปัจจุบัน กรอบสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ตามเอกสารกฏบัตรสหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเพศและการเจริญพันธุ์(IPPF Charter on Sexual and Reproductive Rights 1996) และอ้างอิงคำนิยามของแนวคิดมิติหญิงชาย(gender perspective) ที่ประกอบด้วย ความเท่าเทียมในมิติหญิงชาย (gender equality) และความเที่ยงธรรมในมิติหญิงชาย (gender equity) ขององค์การอนามัยโลก (Transforming health systems: genderand rights in reproductive health. WHO, 2001) รายงานนี้เป็นฉบับปรับปรุงจากรายงานที่เสนอต่อคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตด้านสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2547

ภาพ / บทความโดย : -
การศึกษาเรื่องแนวทางการส่งเสริมการคุ้มครองสตรี ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550

การศึกษาเรื่องแนวทางการส่งเสริมการคุ้มครองสตรีในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 เป็นการศึกษาเจตคติเกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย และปัญหาความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัว รวมทั้ง ความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ

ภาพ / บทความโดย : -
การศึกษาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาส และความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. .... ตามแนวทางของกฎหมายความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Equality Law)

สังคมไทยปัจจุบันแม้ยึดกติกาพื้นฐานตามหลักการประชาธิปไตย คือการเคารพสิทธิของบุคคล การให้เสรีภาพภายใต้กรอบของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติพบว่าความเหลี่ยมล้ำระหว่าง บุคคลอันสืบเนื่องมาจากเพศ หรือความเป็นหญิง ความเป็นชาย ยังคง ปรากฏให้เห็น เป็นรูปธรรมในรูปของการเลือกปฏิบัติ ซึ่งข้อมูลที่ยืนยันการกีดกันผู้หญิงจากการได้รับประโยชน์และการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ มีหลายด้าน เช่น การศึกษา การทำงาน การรับบริการ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจกับคนในสังคมให้เห็นถึงประเด็นการเลือกปฏิบัตินี้ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ตรงกันข้ามคนในสังคมจำนวนมากยังคงยึดติดอยู่กับเจตคติดั้งเดิม คือการมองบทบาทของหญิงและชายอย่างมีอคติ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือผู้หญิงไม่ได้รับโอกาสเท่าที่ควรในการมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

ภาพ / บทความโดย : -

1  [2]  3  4