การริเริ่มของสหประชาชาติในการยกระดับสภาพเงื่อนไขของสตรี มีผลทำให้เกิดการจัดตั้งงค์กรทางด้านกฎหมาย ระหว่าง ประเทศ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในทางกฎหมายให้เกิดขึ้น และมีองค์กรในสหประชาชาติอีกหลายองค์กรที่ทำงานผลักดัน ให้เกิดความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง โดยการทำให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจมากขึ้น และพยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไขขนบธรรมเนียม และเจตคติที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติมาเป็นเวลานาน |
องค์กรต่าง ๆ ที่สำคัญในระบบของสหประชาชาติ ที่มีหน้าที่พิทักษ์สิทธิสตรี ได้แก่ |
(1) คณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี (UNCSW) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1946 (พ.ศ.2489) โดยเป็นองค์กรภายใต้คณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) มีหน้าที่กำหนดแนวทางการยกระดับสถานภาพสตรี ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และด้านการศึกษา |
(2) คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี (CEDAW) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1982 (พ.ศ.2525) เพื่อเป็นองค์กรในการติดตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ องค์กรนี้ มีหน้าที่ตรวจสอบว่าประเทศภาคี อนุสัญญาฯ กว่า 100 ประเทศ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญา ฯ หรือไม่ |
- แผนกเพื่อความก้าวหน้าของสตรี เป็นหน่วยงานภายใต้ศูนย์พัฒนาสังคม และกิจการด้านมนุษยธรรม ทำหน้าที่เป็น สำนักงานเลขานุการ ดำเนินการวิจัย และทำงานสนับสนุนองค์กรทั้งสองข้างต้น |
- กองทุนพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) เป็นกองทุนภายใต้โครงสร้างของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาาติ (UNDP) ทำหน้าที่สนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการผสานสตรีในกระบวนการพัฒนา ด้วยวิธีการส่งเสริมกิจกรรม สร้างเสริมรายได้ขนาดย่อม |
- สถาบันวิจัยและฝึกอบรมระหว่างประเทศ เพื่อความก้าวหน้าของสตรี (INSTRAW) เป็นแหล่งให้เงินทุนอุดหนุน และมีหน้าที่ทำวิจัย เพื่อยกระดับวิธีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับการพัฒนา |
ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล |
|
คลาร่า เซทกิ้น (CLARE ZETKIN) |
ค.ศ.1857 - 1933 (พ.ศ.240 - 2476) |
คลาร่า เซทกิ้น เธอจึงได้รับการขนานนามว่า มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล เป็นผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล |
นักการเมืองหญิงสายมารค์ซิสต์ และอิตถีนิยม ชาวเยอรมัน เป็นผู้ริเริ่มวันสตรีสากลชื่อเดิมชื่อ คลาร่า ไอนส์เนอร์ เกิดที่เมืองไวเดอรูว์ แคว้นแซกโซนี่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ.2400) จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูเมืองไลป์ซิก และพบรัก กับเพื่อนนักศึกษาชาวรัสเซียด้วยกัน นามว่า ออพซิป เซทกิ้น และได้แต่งงานด้วยกันในเวลาต่อมา มีบุตร 2 คน และเป็นหม้ายในปี ค.ศ.1889 (พ.ศ.2432) |
|
ในปี ค.ศ.1884 (พ.ศ.2424) ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democratic Party) ซึ่งเป็น พรรคการเมืองที่ก่อตั้งได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะถูกยุบ โดยมหาเอกอัครเสนาบดีของปรัสเซีย (เยอรมัน) นามว่า ออทโต ฟอน บิสมารค์ และคลาร่าได้ถูกเนรเทศไปอยู่ที่สวิตท์เซอร์แลนด์ |
ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) คือ 8 ปี ให้หลังคลาร่าได้กลับสู่เยอรมันดินแดนมาตุภูมิ คลาร่ากลับมาพร้อมกับการก่อตั้ง กลุ่มนักสังคม นิยมหญิง หลักจากนั้น ในปี ค.ศ.1910 (พ.ศ.2453) ได้ริเริ่มในการเสนอให้กำหนดวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล |
นับจากปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ในขณะที่ประเทศเยอรมันกำลังทำสงครามโลกครั้งที่ 1 คลาร่า เซทกิ้น ได้ร่วมมือกับ โรซ่า
ลัมเซมเบอรค์ (นัดคิดสายมารค์ซิสต์หญิงคนสำคัญ) ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ 1 ในนามกลุ่ม สปาร์ตาซิสต์* จึงทำให้
คลาร่าเดินเข้าออกจากคุกนับครั้งไม่ถ้วน |
* กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ (spatarcist) เป็นกลุ่มกรรมการในเยอรมันที่ประท้วงรัฐบาลเยอรมันสมัยนั้น ในการทำสงครามโลก ครั้งที่ 1 ภายใต้การนำของ 2 นักสังคมนิยมเยอรมัน โรซ่า ลัมเซมเบอรค์ (Rosa Luxemburg) และคารล์ เลี๊ยบเนคท์ (Karl Liebknecht) ด้วยความคิดที่ว่า ทหารที่ส่งไปรบและล้มตาย ก็คือประชาชน หรือผู้ใช้แรงงาน สงครามเป็นการกระทำที่สนองตัณหาของรัฐบาล ในการต้องการความยิ่งใหญ่ แต่ประชาชนมีแต่ต้องสูญเสีย (กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ เป็นชื่อที่นำมาจากชื่อของ สปาร์ตาคัส ผู้นำของทาศ ในยุคโรมันโบราณที่หาญกล้าขึ้นปฏิวัติล้มอำนาจของจักรพรรดิโรมันยุคโบราณ) |