แนะนำองค์กร
          การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย มีแนวคิดในการดำเนินการ ดังนี้
          ศูนย์ข้อมูลกลางด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายเป็นหน่วยงานในการพัฒนาองค์ ความรู้ ส่งเสริมการศึกษาวิจัย เป็นศูนย์ประสานและเผยแพร่ข้อมูลส่งเสริมจัดทำสารสนเทศ โดย ผลักดันให้ประมวลผลด้วยข้อมูลแยกเพศ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
          1. การเป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศด้านความเสมอภาค
กำหนดประเภทข้อมูลที่ต้องรวบรวมสำหรับการวิเคราะห์ กำหนด ติดตาม นโยบายการจัดทำดัชนีชี้วัด และการเผยแพร่
รณรงค์ผลักดันให้ส่วนราชการต่าง ๆ ดำเนินการประมวลข้อมูล โดยแยกเพศหญิงชาย
สร้างระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
การเผยแพร่ข้อมูล
การประมวลผลการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ และเผยแพร่
            2. การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเป็นการสร้างฐานข้อมูลด้านสตรี เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานด้านสตรี ได้แก่ สถิติข้อมูลของสตรีด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา สุขภาพอนามัย แรงงาน ข้อมูลสถานภาพสตรีไทย รวมถึงการดำเนินการ ด้านงาน วิจัยต่าง ๆ
            3. การสนับสนุนส่งเสริม โดยการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ ระบบข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อการส่งเสริมความเสมอภาค
ประมวล วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลแยกเพศ/องค์ความรู้เกี่ยวกับสถานภาพของผู้หญิง และผู้ชาย และความเสมอภาคหญิงชาย
ส่งเสริมให้มีระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของเครือข่าย ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ การใช้และเผยแพร่ข้อมูล ด้านสตรีและความ เสมอภาคหญิงชาย
พัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการเสนอนโยบายมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสถานภาพสตรี และความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย
ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูล
            สำหรับการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย เป็นการสร้างฐานข้อมูลด้านสตรี เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานด้านสตรี ได้แก่ สถิติข้อมูลของสตรีในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา สุขภาพอนามัย แรงงาน ฯลฯ สถานภาพสตรีไทย เป็นต้น โดยมีการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ
            1. ด้านข้อมูล
                 1) การจัดทำคลังข้อมูลหญิงชาย (Gender Data Warehouse) เป็นการจัดเก็บข้อมูลหญิงชาย ของสำนักงาน ส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย ที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ และการตัดสินใจ ซึ่งเกิดจากการ บูรณาการระบบฐานข้อมูล จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ซึ่งนำมาประมวลผลร่วมกัน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผล จะเป็นข้อมูลย้อนหลัง ในอดีตจนถึงปัจจุบันที่มีการจัดเก็บระยะหนึ่ง โดยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ แต่จะมีการคัดเลือกจัดเก็บ เฉพาะข้อมูลที่จำเป็น ต่อการใช้งานด้านความเสมอภาคหญิงชายเท่านั้น โดยข้อมูลที่จัดเก็บในคลังข้อมูลหญิงชาย จะถูกจัดเก็บ ในรูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) โดยระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ จะประกอบด้วย 1) ระบบฐานข้อมูลหญิงชาย 2) ระบบฐานข้อมูล บรรณานุกรม งานวิจัย ด้านสตรี (บรรณานุกรมงานวิจัยด้านสตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านสตรี และสตรีศึกษา
                 2) การจัดทำรายงานข้อมูลและตัวชี้วัดด้านสตรี ประกอบด้วยรายงานข้อมูล และตัวชี้วัดในระดับประเทศ ตามประเด็น ที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ 12 ประเด็น ตามแผนปฏิบัติการปักกิ่ง ที่มีอยู่ทั้งในระดับสากลและในประเทศไทย
                 3) การวิเคราะห์สถานการณ์สตรี (Gender Analysis) มีวิเคราะห์การเปรียบเทียบข้อมูลตัวบ่งชี้สถานภาพ สตรีในอดีต จนถึงปัจจุบัน เพื่อบอกถึงความก้าวหน้าของการดำเนินการพัฒนาด้านสตรี ตลอดจนสามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาแนวโน้มของ สถานการณ์ด้านสตรีในอนาคตได้
            2. ด้านการวิจัย โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลบรรณานุกรมงานวิจัย วิเคราะห์ และสังเคราะห์ งานวิจัย เกี่ยวกับสตรีในประเทศไทย จากการรวบรวมบทคัดย่อและทำเนียบงานวิจัย เกี่ยวกับสตรี ที่ เกี่ยวข้องกับระบฐานข้อมูลฯ และงานด้านการศึกษาวิจัย
            3. ด้านสารสนเทศ โดยการจัดทำเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูล จัดทำข้อมูลเว็บไซต์ ในเนื้อหาที่เผยแพร่มีการเคลื่อนไหวเสมอ การวิเคราะห์ข่าว และนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับสถานภาพสตรี ที่ทันเหตุการณ์