<<  Back     
CEDAW : อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
ความเป็นมา
          อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ เป็นอนุสัญญา ที่จัดทำขึ้นโดยสหประชาชาติ และได้รับความรับรองจากที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 34 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2522 นับจากนั้นจนถึงเดือนเมษายน 2540 ประเทศต่างๆ ให้สัตยาบัน (ratification) หรือภาคยานุวัติ (accession) อนุสัญญานี้แล้ว 156 ประเทศ สำหรับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ โดยวิธีภาคยานุวัติ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2528 ในส่วนของข้อสงวนที่ประเทศไทยได้ตั้งไว้ เพื่อที่จะขอเป็นการยกเว้นไม่ผูกพันตามอนุสัญญาเดิมนั้นมี 7 ข้อ ได้แก่
อนุสัญญา 7
:
เรื่องความเสมอภาคทางการเมืองและการรับตำแหน่งทางราชการ
อนุสัญญาข้อ 9
:
เรื่องการถือสัญชาติของบุตรที่เกิดจากหญิงไทย
อนุสัญญาข้อ 11
:
เรื่องสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการจ้างงานชนิดเดียวกัน
อนุสัญญาข้อ 15
:
เรื่องการทำสัญญา
อนุสัญญาข้อ 16
:
เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส
อนุสัญญาข้อ 29
:
เรื่องการให้อำนาจศาลโลกในการตัดสินกรณีพิพาท
          การที่ประเทศไทยตั้งข้อเสนอไว้ในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญถึง 7 ข้อ จากจำนวน 16 ข้อ ของอนุสัญญา ทำให้ประเทศไทยถูกทักท้วง และเพ่งเล็งจากประเทศต่างๆ  และจากองค์กรที่มิใช่รัฐบาลในเวทีการประชุมระหว่างประเทศ โดยเห็นว่าประเทศไทยมีความจริงใจต่อการส่งเสริมสถานภาพสตรี ซึ่งขัดต่อวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา ต่อมาประเทศไทยได้ขอยกเลิกข้อสงวนแล้ว 5 ข้อ ได้แก่
อนุสัญญาข้อ 11 วรรค 1(ข) และข้อ 15 วรรค 3 โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2533
อนุสัญญาข้อ 9 โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535
อนุสัญญาข้อ 7 โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2538
อนุสัญญาข้อ 10 โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539
อนุสัญญาข้อ 16 โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 ดังนั้น ปัจจุบันจึงยังคงเหลืออนุสัญญาข้อ 29 เพียงข้อเดียว
ข้อมูลอื่น ๆ
สาระสำคัญ
ภาค 1    (อนุสัญญาข้อ 1-6)
ภาค 2    (อนุสัญญาข้อ 7-9)
ภาค 3    (อนุสัญญาข้อ 10-14)
ภาค 4    (อนุสัญญาข้อ 15-16)
ภาค 5    (อนุสัญญาข้อ 17-22)
ภาค 6    (อนุสัญญาข้อ 23-30)
        *เปิดไฟล์ต่าง ๆ ด้วยโปรแกรม Acrobat Reader
          << files1\files00.pdf >>
   
การเตรียมการสำหรับการประชุมเครือข่ายผู้นำสตรีปี 2551 ณ สาธารณรัฐเปรู
เครือข่ายผู้นำสตรีในเอเปค (Women Leaders’ Network – WLN)

<<  Back >>