APEC : ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการประชุมเอเปค : ความร่วมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก |
|
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation - APEC) เป็นเวทีประชุมระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในภูมิภาคเอเปค เริ่มก่อตั้งเป็นครั้งแรกในปี 2532 (1989) ณ ประเทศออสเตรเลีย โดยประเทศผู้ก่อตั้งได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม อินโดนิเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ในปี 2534 สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง และจีนไทเป ได้เข้าเป็นสมาชิคเอเปค ในปี 2536 เม็กซิโก และปาปัวนิวกินี ได้เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม และมีการพิจารณาให้ชิลีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี 2536 ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด ได้แก่ เปรู รัสเซีย และ เวียดนาม ซึ่งได้เข้าร่วมในปี 2541
ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิกทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ฮ่องกง อินโดนิเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม และมีผู้สังเกตุการณ์ ได้แก่ สำนักเลขาธิการอาเซียน (Association of South East Asian Nations ASEAN) สภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจแปซิฟิก (Pacific Economic Cooperation Council PECC) และที่ประชุมแปซิฟิคใต้ (South Pacific Forum SPF)
|
|
สาธารณรัฐเปรูกับการประชุมเอเปค
|
|
สาธารณรัฐเปรูเข้ามาเป็นสมาชิกเอเปคอย่างเต็มตัวในปี 1998 โดยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีในเดือนพฤศจิกายนในปีนั้น ณ ประเทศมาเลเซีย โดยการเข้าเป็นสมาชิกเอเปคของเปรูนั้น เกิดจากความร่วมมือในการผลักดันระหว่างตัวแทนจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาควิชาการทั้งนี้ เปรูได้พัฒนายุทธศาสตร์ในการที่จะได้รับการสนับสนุนจากเขตเศรษฐกิจเอเปค โดยการส่งผู้แทนระดับสูงไปเยี่ยมเยือนเขตเศรษฐกิจ เอเปคต่าง ๆ โดยเปรูเป็นเพียงประเทศเดียวในกุล่มประเทศแถบเทือกเขาแอนดีส (The Andean Community) ที่ได้เป็นสมาชิกเอเปค และมีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ของเอเปคเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเป็นสัดส่วนที่สำคัญของการค้าของเปรู
ในเดือนพฤศจิกายน 2003 ที่ประชุมระดับผู้นำเอเปคได้เห็นชอบให้เปรูเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ครั้งที่ 13 ในปี 2008 โดยการประชุมเอเปคครั้งนี้ จะเป็นความท้าทายที่สำคัญของเปรูในการยกระดับมาตรฐานของเขตเศรษฐกิจของตนเองให้ทัดเทียมกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ของเอเปคในแง่ของความมีประสิทธิภพ และศักยภาพในการแข่งขัน
คณะผู้จัดการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วยทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยเปรูถือว่า การเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมเอเปคในครั้งนี้ จะนำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
|
|
หัวข้อหลักของการประชุมเอเปค 2008 ณ สาธารณรัฐเปรู |
|
หัวข้อหลักของการประชุมเอเปค ปี 2008 ได้แก่ พันธสัญญาใหม่เพื่อการพัฒนาเอเชียแปซิฟิก (A new commitment to the development of the Asia-Pacific) โดยเน้นการขยายโอกาสในการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในกระบวนการสร้างชุมชนเอเชียแปซิฟิก ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน การคำนึงถึงผู้แทนจากภาคประชาสังคม และการส่งเสริมความร่วมมือร่วมกันของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
การเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยการเน้นการพัฒนาส่วนบุคคล และการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อบูรณาการประเด็นที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาค เช่น ประเด็นความมั่นคงด้านพลังงาน ความมั่นคงส่วนบุคคล ความเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
|
|
|
|
|
|
|