พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2550
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 12 กันยายน 2550 มีผลบังคับใช้วันที่ 13 กันยายน 2550
  • มาตรา 1445 (เดิม) ชายคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งได้ร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้นโดยรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงได้หมั้นกับชายคู่หมั้นนั้นแล้วได้ เมื่อชายคู่หมั้นได้บอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา 1442 แล้ว

  • สาระสำคัญของกฎหมายเดิม
    1. ชายคู่หมั้นสามารถเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งได้ร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น โดยชายอื่นรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงได้หมั้นกับชายคู่หมั้นนั้นแล้ว เมื่อชายคู่หมั้นได้บอกเลิกสัญญานั้น
    2. หญิงคู่หมั้นไม่สามารถเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นซึ่งได้ร่วมประเวณีกับชายคู่หมั้น

  • วัตถุประสงค์ของการแก้ไข
    แก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เรื่องการกระทำชำเราซึ่งมิได้เกิดขึ้นเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย ดังนั้นผู้หญิงจึงควรมีสิทธิในการเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตนได้ เช่นเดียวกัน

  • ประเด็นและสาระสำคัญของการแก้ไข
    เดิม ชายคู่หมั้น แก้ไขเป็น ชายหรือหญิงคู่หมั้น
    เดิม ชายอื่นซึ่งได้ร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น แก้ไขเป็น ผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตน

  • มาตรา 1445 (ใหม่) ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น เมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้วตามมาตรา 1442 หรือมาตรา 1443 แล้วแต่กรณี

  • มาตรา 1446 (เดิม) ชายคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้นโดยรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงได้หมั้นแล้วได้ โดยไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น

  • สาระสำคัญของกฎหมายเดิม
    ชายคู่หมั้นสามารถเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเรา หรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้นของตน โดยชายอื่นรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงได้หมั้นกับชายคู่หมั้นนั้นแล้ว

  • ประเด็นและสาระสำคัญของการแก้ไข
    เดิม ชายคู่หมั้น แก้ไขเป็น ชายหรือหญิงคู่หมั้น
    เดิม ชายอื่นซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเรา หรือพยายามข่มขืนกระทำชำเรา แก้ไขเป็น ผู้ซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเรา หรือพยายามข่มขืนกระทำชำเรา

  • วัตถุประสงค์ของการแก้ไข
    แก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย ดังนั้นผู้หญิงจึงควรมีสิทธิในการเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตนได้ เช่นเดียวกัน
  • มาตรา 1446 (ใหม่) “ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้นได้โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น”

  • มาตรา 1447/1 (เดิม) สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามมาตรา 1439 ให้มีอายความหกเดือนบับตั้งแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น
    สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามมาตรา1444 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำชั่วอย่างร้อยแรงอันเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญาหมั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันกระทำการดังกล่าว
    สิทธิเรียกร้อยค่าทดแทนตามมาตรา 1445 และ 1446 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่คู้หมั้นรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำของชายอื่นอันจะเป็นเหตุให้เรียกค่าทดแทนและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าทดแทนนั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ชายอื่นกระทำการดังกล่าว

  • สาระสำคัญของกฎหมายเดิม
    สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของชายคู่หมั้น (เรื่องการร่วมประเวณีการข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำเราหญิงคู่หมั้น) ให้มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่มีการกระทำดังกล่าว

  • ประเด็นและสาระสำคัญของการแก้ไข
    เดิม ชายคู่หมั้น แก้ไขเป็น ชายหรือหญิงคู่หมั้น

  • วัตถุประสงค์ของการแก้ไข
    เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันและความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

  • มาตรา 1447/1 (ใหม่) “สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามมาตรา 1445 และมาตรา 1446 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ชายหรือหญิงคู่หมั้นรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำของผู้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เรียกค่าทดแทนและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าทดแทนนั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับตั้งแต่วันที่ผู้อื่นนั้นได้กระทำการดังกล่าว

  • มาตรา 1516 (1) เดิม เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
    (1) สามีอุปการระเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้

  • สาระสำคัญของกฎหมายเดิม
    1. สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ภริยาฟ้องหย่าได้ แต่หากว่าผู้ชายมีชู้ ภริยาฟ้องหย่าไม่ได้
    2. ภริยามีชู้ สามีฟ้องหย่าได้

  • ประเด็นและสาระสำคัญของการแก้ไข
    เดิม สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้
    แก้ไขเป็น สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ

  • วัตถุประสงค์ของการแก้ไข
    จะเห็นได้ว่าภริยาจะฟ้องหย่าสามีได้นั้นจะต้องพิสูจน์ให้ได้ถึงขนาดที่สามีไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นและได้อุปการะหรือยกย่องเสมอเหมือนภริยา ในขณะที่ภริยาหากมีชู้ (ร่วมประเวณีกับชายอื่นครั้งเดียว) สามีก็สามารถฟ้องหย่าได้
    และทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ในเรื่องการฟ้องหย่า

  • มาตรา 1516 (1) ใหม่ เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
    (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

  • มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง (เดิม) เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากหญิงอื่นหรือชู้ แล้วแต่กรณี

  • สาระสำคัญของกฎหมายเดิม
    เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้หย่ากัน สาเหตุเพราะการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา หรือภริยามีชู้ ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากหญิงอื่นหรือชู้แล้วแต่กรณี

  • ประเด็นและสาระสำคัญของการแก้ไข
    เดิม หญิงอื่นหรือชู้ แก้ไขเป็น ผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น

  • วัตถุประสงค์ของแรแก้ไข
    เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขมาตรา 1516 (1) และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ในเรื่องการได้รับค่าทดแทนจากเหตุแห่งการฟ้องหย่า

  • มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง (ใหม่) “เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี่ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น”
 
รายละเอียดเพิ่มเติม