พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2550
ประกาศราชกิจจานุเบกษาวันที่ 19 กันยายน 2550 มีผลบังคับใช้วันที่ 20 กันยายน 2550
มาตรา 277 ทวิ (เดิม) ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคแรก หรือมาตรา 277 วรรคแรกหรือวรรคสอง เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
(2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
สาระสำคัญของกฎหมายเดิม
การข่มขีนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยา การกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาหรือกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปี หากทำให้หญิงหรือเด็กหญิงได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จะต้องรับโทษเพิ่มขึ้น (เหตุเพิ่มโทษ)
ประเด็นและสาระสำคัญของการแก้ไข
(ปรับให้สอดคล้องกับมาตรา 276 และมาตรา 277)
วัตถุประสงค์ของการแก้ไข
เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิของผู้หญิงซึ่งเป็นภริยา นอกจากนั้นยังได้ขยายความคุ้มครองไปถึงผู้ชาย และเด็ก (ทั้งเด็กหญิงและขาย) ด้วย
โดยตั้งอยู่บนหลักการว่า “ ใครก็ไม่สามารถข่มขืนกระทำชำเราใครได้”
(ปรับให้สอดคล้องกับมาตรา 276 และมาตรา 277)
มาตรา 277 ทวิ (ใหม่) ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 277 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
(2) ถึงแก่ความตาย ผู้ถูกกระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
มาตรา 277 ตรี (เดิม) ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสอง หรือมาตรา 277 วรรคสาม เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
(2) ถึงแก่ความตาย ผู้ถูกกระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
สาระสำคัญของกฎหมายเดิม
1. การข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยา โดยใช้อาวุธปืน หรือวัตถุระเบิด หรือเป็นการโทรมหญิง หากทำให้หญิงนั้นได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จะต้องรับโทษเพิ่มขึ้น
2. การกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน ไม่ว่าเด็กหญิงจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม หรือกระทำแก่เด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปี โดยได้กระทำโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม หรือได้กระทำโดยมีอายุธปืนหรือวัตถุระเบิดหรือโดยใช้อาวุธ หากทำให้หญิงหรือเด็กนั้นได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จะต้องรับโทษเพิ่มขึ้น
ประเด็นและสาระสำคัญของการแก้ไข
(ปรับให้สอดคล้องกับมาตรา 276 และมาตรา 277)
วัตถุประสงค์ของการแก้ไข
เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิของผู้หญิงซึ่งเป็นภริยา นอกจากนั้นยังได้ขยายความคุ้มครองไปถึงผู้ชาย และเด็ก (ทั้งเด็กหญิงและชาย) ด้วย โดยตั้งอยู่บนหลักการว่า “ใครก็ไม่สามารถข่มขืนกระทำชำเราคาได้” (ปรับให้สอดคล้องกับมาตรา 276 และมาตรา 277)
มาตรา 277 ตรี (ใหม่) ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสาม หรือมาตรา 277 วรรคสี่ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
(2) ถึงแก่ความตาย ผู้ถูกกระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
รายละเอียดเพิ่มเติม