พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2550
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 19 มกราคม 2548 มีผลบังคับใช้วันที่ 20 มกราคม 2548
  • มาตรา 246 (เดิม) ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อนจนกว่าเหตุอันควรทุเลาจะหมดไป ในกรณีต่อไปนี้

    (1) เมื่อจำเลยวิกลจริต
    (2) เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก
    (3) ถ้าจำเลยมีครรภ์ตั้งแต่เจ็ดเดือนขึ้นไป
    (4) ถ้าจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงเดือน
    ในระหว่างลุเลาการบังคับอยู่นั้น ให้ศาลสั่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจัดให้บุคคลดังกล่าวแล้ว อยู่ในความควบคุมในสถานที่อันควร

  • สาระสำคัญของกฎหมายเดิม
    ศาลเท่านั้นที่มีอำนาจในการสั่งให้ชบอการลงโทษจำคุกไว้ก่อนได้ หากปรากฏว่า
    (1) จำเลยวิกลจริต
    (2) เกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก
    (3) จำเลยมีครรภ์ตั้งแต่เจ็ดเดือนขึ้นไป
    (4) จำเลยคลอดบุตรยังไม่ถึงเดือน

  • ประเด็นและสาระสำคัญของการแก้ไข
    เดิม ศาลเท่านั้นถึงจะสั่งให้ทุเลาการบังคับโทษได้
    แก้ไขเป็น ศาลเห็นสมควร หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถร้องขอต่อศาลได้ เช่นจำเลย คู่สมรสหรือญาติของจำเลย พนักงานอัยการ หรือผู้บัญชาการเรือนจำ เมื่อมีเหตุดังนี้
    (๓) เดิม จำเลยมีครรภ์ตั้งขึ้นไป แก้ไขเป็น เมื่อมีหลักฐานจากแพทย์รับรองว่าจำเลยมีครรภ์
    (๔) เดิม ถ้าจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงเดือน แก้ไขเป็น ถ้าจำเลยคลอดบุตรแล้ว และบุตรนั้นยังมีอายุไม่ถึงสามปี

  • วัตถุประสงค์ของการแก้ไข
    เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพจิตใจของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งจะส่งผลกับบุตรทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และมีสิทธิที่จะเลี้ยงดูบุตรจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 3 ปี ในสถานที่อันเหมาะสม ภายใต้การควบคุมของเจ้าพนักงาน

  • มาตรา 246 (แก้ไขใหม่)
    “เมื่อจำเลย สามี ภริยา ญาติของจำเลย พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อนจนกว่าเหตุอันควรทุเลาจะหมดไป ในกรณีต่อไปนี้
    (1) เมื่อจำเลยวิกลจริต
    (2) เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแต่ชีวิตถ้าต้องจำคุก
    (3) ถ้าจำเลยมีครรภ์
    (4) ถ้าจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงสามปี และจำเลยต้องเลี้ยงดูบุตรนั้น
    ในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้นศาลจะมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในความ
    ควบคุมในสถานที่อันควรนอกจากเรือนจำหรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายจำคุกก็ได้ และให้ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดำเนินการตามคำสั่ง
    ลักษณะของสถานที่อันควรตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องกำหนดวิธีการควบคุมและบำบัดรักษาที่เหมาะสมกับสภาพของจำเลย และมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย
    เมื่อศาลมีคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว หากภายหลังจำเลยไม่ปฏิบัติตามวิธีการหรือมาตรการตามวรรคสามหรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือให้ดำเนินการตามหมายจำคุกได้ให้หักจำนวนวันที่จำเลยอยู่ในความควบคุมตามมาตรานี้ออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา

  • มาตรา 247 วรรคสอง (เดิม) หญิงใดจะต้องประหารชีวิต ถ้ามีครรภ์อยู่ ให้รอไว้จนคลอดบุตรเสียก่อนแล้วจึงให้ประหารชีวิต
    สาระสำคัญของกฎหมายเดิม
    ผู้หญิงที่ต้องโทษประหารชีวิต ถ้าตั้งท้องอยู่ต้องรอให้คลอดบุตรก่อนแล้วให้นำไปประหารชีวิต

  • ประเด็นและสาระสำคัญของการแก้ไข
    เดิม คลอดบุตร แก้ไขเป็น คลอดบุตรก่อนและเมื่อครบ 36 เดือน ศาลสามารถเปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิตก็ได้

  • วัตถุประสงค์ของการแก้ไข
    เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิผู้หญิงที่ตั้งท้อง เพื่อสิทธิมนุษยธรรมตามรัฐธรรมนูญ และให้โอกาสในการเลี้ยงดู ดูแลบุตรที่เพิ่งคลอดจำเป็นต้องได้รับความรัก ความอบอุ่นเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงที่ต้องโทษได้กลับตัวเป็นคนดี

  • มาตรา 247 วรรคสอง (ใหม่)
    “หญิงใดจะต้องประหารชีวิต ถ้ามีครรภ์อยู่ ให้รอไว้จนพ้นกำหนดสามปีนับแต่คลอดบุตร
    แล้ว ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต เว้นแต่เมื่อบุตรถึงแก่ความตายก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ในระหว่างสามปีนับแต่คลอดบุตร ให้หญิงนั้นเลี้ยงดูบุตรตามความเหมาะสมในสถานที่ที่สมควรแก่การเลี้ยงดูบุตรภายในเรือนจำ”
 
รายละเอียดเพิ่มเติม