แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ให้ความสำคัญและกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาสตรีฯ ในการสร้างสังคมไทยเป็นสังคมที่เสมอภาค คนในสังคมมีเจตคติที่ดี ตระหนักและยอมรับบทบาทสตรีในบริบทต่างๆ ทัั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้สังคมไทยมีความเป็นธรรม ยุติธรรม โดยสตรีทุกกลุ่มมีโอกาส เข้าถึงและได้รับการศึกษาทุกระดับ มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม สตรีมีสุขภาวะ มีความมั่นคงในชีวิตที่ดีขึ้น สตรีมีความมั่นใจและมีศักยภาพในการเข้าร่วมทางการเมืองการบริหารและการตัดสินใจในระดับต่างๆ รวมทั้งองค์กรและกลไกสตรีระดับต่างๆ มีความเข้มแข็งเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาสตรี โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรีไว้ 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เสริมสร้างเจตคติและการยอมรับด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

เน้นสร้างสังคมไทยที่มีความเสมอภาค คนในสังคมมีเจตคติที่ดี ตระหนักและยอมรับถึงบทบาทสตรีในบริบทต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน แนวทางในการดำเนินงานเน้นการส่งเสริมและจัดให้มีการศึกษา เพื่อปลูกฝังเจตคติที่ดีให้แก่เด็ก เยาวชน ผู้หญิง และผู้ชายทุกระดับ และทุกกลุ่มอายุ ผ่านกระบวนการพัฒนาครู อาจารย์ หลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน การให้ข้อมูลและการสื่อสารสาธารณะ ฯลฯ การพัฒนาความรู้ความเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสื่อต่างๆ และการกำหนดมาตรฐานในการเผยแพร่และสื่อสารสาธารณะอย่างเหมาะสม การส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการการคุ้มครองสิทธิความเป็นมนุษย์ และเพื่อให้สามารถดำเนินการอย่างชัดเจนจะต้องดำเนินการสำรวจเจตคติของคนในสังคมต่อบทบาทหญิงชาย โดยจัดทำโครงการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกฝังเจตคติที่ดี รวมทั้งแนวทางการรณรงค์เพื่อปรับกระบวนทัศน์และเจตคติของคนในสังคมที่มีต่อบทบาทสตรี

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมของสตรีไทย

เพื่อสร้างสังคมไทยที่มีความเป้นธรรม ยุติธรรม โดยเน้นให้สตรีทุกกลุ่มมีโอกาส เข้าถึง และได้รับการศึกษาทุกระดับ มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม สตรีได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและมีโอกาสเข้าร่วมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยแนวทางการพัฒนาเน้นการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพสตรี ผ่านระบบการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้รู้เท่าทันและสามารถใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาศักยภาพ การพัฒนากลไกและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อเอื้อให้ผู้หญิงมีโอกาสเข้าร่วมและรับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการสนับสนุนและจัดการศึกาาวิจัยและสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพิ่มโอกาสและศักยภาพของสตรีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการนำความรู้มาใช้ประโยชน์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาสุขภาวะ คุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิต

เพื่อเน้นให้สตรีมีสุขภาวะ มีความมั่นคงในชีวิต และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา โดยมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้สตรีมีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต ทั้งในระดับครอบครัวชุมชนและสังคม ซึ่งแนวทางการพัมนาให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้และปรับเจตคติด้านสุขภาวะผ่านสถาบันครอบครัวและระบบการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการให้ความรู้แก่บุคลากรด้านการศึกษา การแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งให้เครือข่ายสตรีทุกพื้นที่ได้เข้าใจแนวทางการให้ความรู้แก่เด็กหญิง สตรี และบุรุษ รวมถึงผู้นำชุมชนเกี่ยวกับประเด็นด้ายนสุขภาพ ความเข้าใจเรื่องเพศศึกาา รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อและโรคติดต่อ เช่น โรคเอดส์และโรคอื่นๆ จากการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น การรณรงค์และการพัฒนากลไกทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม การปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองและบังคับใช้ อันจะนำไปสู่การลดความรุนแรงต่อสตรีทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม รวมถึงการส่งเสริมและจัดการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของสตรี การลดความรุนแรง และการพิทักษ์สิทธิของเด็กหญิงและสตรีที่ถูกคุกคามทุกรูปแบบ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาศักยภาพสตรีเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าร่วมทางการเมือง การบริหารและการตัดสินใจในระดับต่างๆ

เพื่อส่งเสริมและการพัมนาให้สตรีมีความมั่นใจ มีความรู้ ความเข้าใจในการเมืองระบอบประชาธิปไตย และมีศักยภาพในการเข้าร่วมทางการเมือง การบริหารและกระบวนการตัดสินใจในต่างๆ โดยแนวทางการพัมนาเน้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิไตยตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ และสร้างความพร้อมแก่สตรีทุกกลุ่มเป้าหมาย ในการสมัครแข่งขันเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการบริหารที่เหมาะสม การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ปลูกฝัง ค่านิมย จริยธรรม จรรยาบรรณ และอุดมการณ์ด้านจิตอาสาและจิจสาธารณะแก่สตรีทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่การเป็นผู้นำทางการเมือง การบริหาร และการตัดสินใจในระดับต่างๆ การแสวงหาแนวร่วมทั้งจากภาคการเมือง การบริหารและสื่อมวลชนในการสนับสนุนสตรีที่มีศักยภาพให้เข้าสู่ดตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งแก้ไขกฎหมาย กฎ และระเบียบที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองและการบริหารของสตรี

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพกลไกและองค์กรสตรีทุกระดับ

เพื่อพัฒนาองค์กรและกลไกสตรีระดับต่างๆ ทั้งในภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน และเครือข่ายสตรีต่างๆ ให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาสตรีทุกระดับโดยแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรและกลไกสตรีระดับต่างๆ การพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนการพัฒนาสตรีขององค์กรและกลไกสตรีระดับต่างๆ ให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงาน อีกทั้งเร่งจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรและกลไกสตรีระดับต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนากลไกที่มีความเข้มแข็งในอนาคต ซึ่งการวางแนวทางและส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายขององค์กรและกลไกการพัฒนาสตรีให้สามารถทำงานร่วมกันทั้งระหว่างองค์กรสตรีและกลไกสตรี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและแนวทางการส่งเสริมองค์กรและกลไกการพัฒนาสตรีต่อไป