สตรีกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการบริหาร
          1. การเมืองระดับชาติ
           เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาสตรีลงสมัครรับเลือกตั้งมากขึ้นแต่ก็ยังได้รับการเลือกตั้ง น้อยกว่าผู้ชายหลายเท่า
          นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ.2475 และให้สิทธิเสรีภาพ แก่ผู้ชาย และผู้หญิงอย่างเท่าเทียมกัน แต่ผู้หญิงเพิ่งได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2492 โดยเป็นผล มาจากการเลือกตั้งซ่อม จนถึงปัจจุบันผู้หญิงได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยัง เป็นจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับผู้ชาย จะเห็นได้ว่าการเลือกตั้ง เมื่อเดือนมกราคม 2544 ผู้หญิงได้รับการเลือกตั้งทั้งแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวน 46 คน หรือร้อยละ 9.2 เพิ่มจากการเลือกตั้งในปี 2539 ซึ่งมี สส.หญิง 22 คน
คิดเป็นร้อยละ 5.6การเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ผู้หญิงได้รับการเลือกตั้งรวม 53 คน คิดเป็นร้อยละ 10.6 และการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่
2 เมษาบน 2549 จำนวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดจำนวน 485 คน มีผู้หญิงได้รับเลือกจำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 11.34 โดยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด จำนวน 99 คน เป็นผู้ชาย 91 คน คิดเป็นร้อยละ 91.92 ผู้หญิง จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8.08 จำนวนสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 386 คน เป็นผู้ชาย 339 คน คิดเป็นร้อยละ 87.82 ผู้หญิง จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ12.18 จึงเห็นได้ว่าสัดส่วนของการมีส่วนร่วมของสตรี ในการเมืองระดับชาติมีเพิ่มมากขึ้นแต่ไม่มากนัก เพราะยังต่ำกว่าเป้าหมายที่นานาชาติ รวมทั้งกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดที่จะผลักดัน ให้ผู้หญิงมีโอกาส เข้าร่วมทางการเมือง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
          หากเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในประเทศไทย กับประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่าการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของสตรีหลาย ประเทศสูงกว่าประเทศไทยมาก เช่น ประเทศสวีเด่นมีสมาชิก สภาผู้แทน ราษฎรหญิง ร้อยละ 45.3 / เดนมาร์ก ร้อยละ 38 / ฟินด์แลนด์ ร้อยละ 37.5 และหากหันมาดูเพื่อนบ้านหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น ประเทศเวียดนาม ร้อยละ 27.31 ลาว ร้อยละ 25.22 สิงคโปร์ ร้อยละ 24.47 ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 15.25 และประเทศไทย ร้อยละ 11.34
          2. การเมืองระดับท้องถิ่น
          หากเราดูการเมืองในระดับท้องถิ่นบ้าง จะพบว่ามีสัดส่วนน้อยกว่าการเมืองระดับชาติ โดยในปี 2546 สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ที่เป็นผู้หญิงมีเพียงร้อยละ 6.7 ส่วนสมาชิกสภาจังหวัดมีผู้หญิงได้รับการเลือกตั้ง เพียงร้อยละ 4.6 เท่านั้น ส่วนผู้หญิงที่ได้รับเลือกให้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีเพียงร้อยละ 12 (กรมการปกครอง กรุงเทพฯ, 2548)
          3. คณะกรรมการระดับชาต
          ในส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2545 ให้ความเห็นชอบ ในการกำหนดแนวทางการ แต่งตั้งคณะกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีหรือระเบียบต่าง ๆ ของส่วนราชการ ให้มีการแต่งตั้งสตรีเข้าร่วมทำงานในคณะกรรมการ ในสัดส่วนที่เหมาะสม แต่ปรากฎว่าในส่วนขององค์กรอิสระที่ตั้งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มีการแต่งตั้งผู้หญิงเข้าร่วมในคณะกรรมการเพียงร้อยละ 7.9 (คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หญิง 2 คน ชาย 8 คน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หญิง 5 คน ชาย 6 คน) นอกนั้นองค์ประกอบ
ของคณะกรรมการผู้เป็นผู้ชายทั้งหมด และมีเพียงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเท่านั้น ที่มีองค์ประกอบของคณะกรรมการ หญิงชายในสัดส่วน
ใกล้เคียงกัน คือ หญิง 5 คน ชาย 6 คน
          4. การบริหารและตัดสินใจ
          ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 30 และมาตรา 80 ไว้วางหลักประกันเรื่องความเสมอภาคหญิงชายไว้ และกำหนด ให้รัฐต้องมีหน้าที่จัดให้มีมาตรการใด ๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้าถึงสิทธิและโอกาสต่าง ๆ อย่างเสมอภาคกับผู้ชาย แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยปัจจุบัน ในส่วนของสถานภาพทางการเมือง การบริหารของสตรีในปัจจุบันยังไม่เสมอภาค เท่าเทียมกับชาย ทั้งในด้านสิทธิ การตัดสินใจทางการเมือง การได้รับการยอมรับ โดยจะเห็นได้จากสัดส่วนของสตรี ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารทั้งในหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน การเมืองและการแต่งตั้ง คณะกรรมการต่าง ๆ
          ในการมีส่วนร่วมของสตรีหน่วยงานภาครัฐ ในปี 2548 ข้าราชการไทยระดับ 1-7 ซึ่งเป็นระดับ ผู้ปฏิบัติงาน
พบว่ามีสตรีจำนวนสูงกว่าผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ ระดับผู้บริหาร พบว่านักบริหารสตรีมีน้อยกว่านักบริหารชายทุกระดับ กล่าวคือ ในตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ / รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม ที่ดำรงตำแหน่ง
นักบริหารระดับ 9 - 11 พบว่า สตรีมีจำนวนน้อยกว่าผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด และน้อยลงตามระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยในระดับ 9 มีนักบริหารหญิงร้อยละ 24.4 ระดับ 10 ร้อยละ 16.4 และระดับ 11 ร้อยละ 9.7(สำนักงาน คณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน, 2548)
          อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2536 ถึงปี 2548 พบว่านักบริหารสตรีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปี 2538 มีกนักบริหารสตรี
ร้อยละ 10.55 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.00 ในปี 2540 เพิ่มเป็น ร้อยละ 20.3 ในปี 2547 และเป็นร้อยละ 21.9 ในปี 2548
          ส่วนตำแหน่งนักบริหารในสายการปกครอง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอ ซึ่งเคยปิดกั้นสตรี ปัจจุบัน มีสตรี ได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งดังกล่าวแล้ว สตรีได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารราชการมากขึ้น พบว่าอัตราส่วนการเข้ารับ ราชการของสตรี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ และทุกสายวิชาชีพ ทั้งข้าราชการพลเรือน ข้าราชการตำรวจ ทหาร การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ซึ่งเปิดโอกาสให้สตรี ได้แสดง ศักยภาพมากขึ้น เช่น จากการรับราชการทหาร ซึ่งในอดีตมีสตรีเข้าร่วมปฏิบัติงานน้อยมาก การเลื่อนตำแหน่งชั้นยศ ของข้าราชการทหารหญิงมียศสูงสุดได้เพียง ระดับพันโท และระดับสูงในระดับนายพลจะถูกจำกัดเฉพาะผู้ชาย ซึ่งต่อมากระทรวงกลาโหมได้ยกเลิกระเบียบ ที่กำหนดให้ทหารหญิงมียศสูงสุดแค่ระดับพันโท โดยปัจจุบันทหารหญิงมีสิทธิที่จะเลื่อนยศเป็นถึงระดับนายพล มีผลให้สตรีที่รับราชการทหาร มีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่ง และความก้าวหน้าในการเป็นผู้บริหารระดับสูง หรือตำแหน่งนายพล ของกองทัพไทยได้ สำหรับปีงบประมาณ 2550 ข้าราชการทหารยศระดับนายพล มีข้าราชการทหารหญิง ได้รับการเลื่อนขั้นยศ เป็นระดับนายพล คิดเป็นร้อยละ 5 ของนายพลในกองทัพไทย
          สำหรับข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติปีงบประมาณ 2547 มีสตรีไดัรับการเลื่อนตำแหน่ง เข้าสู่ระดับนายพล เพียง 1 ตำแหน่ง โดยมีจำนวนนายพลตำรวจทั้งสิ้น 331 นาย คิดเป็นร้อยละ 0.30
          สำหรับข้าราชการอัยการจำนวนมี ทั้งสิ้น 2,575 คน มีข้าราชการอัยการสตรี 427 คน คิดเป็นร้อยละ 16.58 และในระดับอัยการอาวุโส จำนวน 191 คน ในจำนวนนี้มีสตรีเป็นอัยการอาวุโส 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.52
          ในส่วนของข้าราชการตุลาการ จำนวนทั้งสิ้น 3,543 คน มีตุลาการสตรีจำนวน 751 คน คิดเป็นร้อยละ 21.20
          และในส่วนของกระบวนการรัฐธรรมนูญ จากการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ของคณะปฏิรูป การปกครอง ในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และได้ประกาศรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พ.ศ.2549 ขึ้น และกำหนดให้มีการคัดเลือก บุคคล เข้าเป็นสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ขึ้น มีผู้หญิงได้รับการ เสนอชื่อ เข้าในสภาร่าง รัฐธรรมนูญ จำนวน 10 คน และได้รับการคัดเลือกเข้าไปในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 คน
คิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้หญิงที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
           นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้บริหารระดับสูงในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เช่น ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากการสำรวจจำนวน ผู้เป็นอธิการบดีและคณบดีในมหาวิทยาลัย จำนวน 16 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายมีสตรีเป็นอธิการบดีเพียง 1 คน คิดเป็นร้อยละ 7.14 ตำแหน่งรอง
อธิการบดี ร้อยละ 34 ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี ร้อยละ 20 และคณบดี ร้อยละ 30.65 เท่านั้น
          5. ภาคธุรกิจเอกชน
          ในขณะเดียวกันระดับบริหารของภาคธุรกิจเอกชน จากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย
พบว่า รายชื่อผู้บริหารที่อยู่ในตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการอิสระ และผู้บริหารสาขาต่าง ๆ ประมาณ 163 บริษัท มีจำนวนสตรีน้อยกว่า นักบริหารขายเช่นเดียวกัน จากข้อมูลพบว่ามีสตรีอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารเพียงร้อยละ 21.65 ในขณะที่นักบริหารชายมีมากถึง ร้อยละ 78.35