มิติหญิงชายและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์

รายงานนี้ต้องการนำเสนอผลวิเคราะห์ปรากฎการณ์ที่ชี้ให้เห็นสถานะของสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ในมิติหญิงชาย (gender perspectives) และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ โดยวิเคราะห์จากปรากฏการณ์ปัจจุบัน กรอบสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ตามเอกสารกฏบัตรสหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเพศและการเจริญพันธุ์(IPPF Charter on Sexual and Reproductive Rights 1996) และอ้างอิงคำนิยามของแนวคิดมิติหญิงชาย(gender perspective) ที่ประกอบด้วย ความเท่าเทียมในมิติหญิงชาย (gender equality) และความเที่ยงธรรมในมิติหญิงชาย (gender equity) ขององค์การอนามัยโลก (Transforming health systems: genderand rights in reproductive health. WHO, 2001) รายงานนี้เป็นฉบับปรับปรุงจากรายงานที่เสนอต่อคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตด้านสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2547

ภาพ / บทความโดย : -
เศรษฐศาสตร์กับมิติหญิงชายในความคิดของ ดร.ภาวดี ทองอุไทย

รศ.ดร.ภาวดี ทองอุไทย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ และรองประธานโครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเพิ่งจะได้รับการประกาศเกียรติคุณในฐานะสตรีดีเด่นในเวที / เครือข่ายระดับสากล เนื่องในงานฉลองวันสตรีสากล ปี 2550 จัดโดย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การได้มีส่วนร่วมเป็นแนวหน้าในกระแสความเคลื่อนไหวส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในระดับสากล เป็นแรงดลใจให้อาจารย์ภาวดีนำกลับมาผลักดันสานต่อในประเทศ งานหนึ่งที่ได้ทำร่วมกับโครงการสตรีฯ มานานหลายปีแล้ว

ภาพ / บทความโดย : -

1  2  3  [4]