การศึกษาแนวทางการส่งเสริมสตรีในการลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลสตรีในจังหวัดสิงห์บุรี

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งของสตรีเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาและไม้ดัดในจังหวัดสิงห์บุรีจำนวน 34 คน พร้อมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคในการตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก อบต. รวมถึงหาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมให้สตรีมีส่วนร่วมในการเมืองระดับท้องถิ่น ส่วนการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณในรูปของแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ เพื่อสอบถามถึงประสบการณ์และความคิดเห็นในประเด็นการลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งจะช่วยอธิบายข้อมูลเชิงปริมาณได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ภาพ / บทความโดย : -
ดูภาพขนาดใหญ่
โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรี


เมื่อต้นปี 2551 สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด 9 แห่ง ที่มีผู้บริหารเป็นผู้หญิง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ลำปาง นครพนม ร้อยเอ็ด ชัยนาท ปราจีนบุรี อยุธยา ภูเก็ต และกาญจนบุรี ว่า คิดอย่างไรต่อการทำงานของผู้หญิง จะแตกต่างไปจากการทำงานของผู้ชายหรือไม่ รวมทั้งเป็นแนวทางที่ทำให้เข้าใจว่าปัจจัยใดที่ประชาชนคิดว่าจะเป็นส่วนสนับสนุนหรือขัดขวางการส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในทางการบริหารและการเมืองท้องถิ่น

ภาพ / บทความโดย : -
ทะยานสู่ผู้นำหญิงให้สง่างาม

สิ่งที่ทำให้ผู้หญิงได้ลุกขึ้นยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ได้รับความยอมรับจากทุกเพศ เห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องของความเชื่อมั่นในตนเอง แต่หากคุณเป็นผู้หญิงที่กำลังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะปีนบันไดขั้นต่อไปลองเปิดหนังสือ ?เมื่อผู้หญิงเป็นใหญ่? อ่านดู แล้วจะรู้ว่าผู้หญิง (อย่างคุณ) ก็เป็น ?ใหญ่? ในโลกธุรกิจได้

แหล่งที่มา : โพสต์ ทูเดย์ (Magazine life@work)
ผู้หญิงเสี่ยงเจ็บหนักมากกว่าผู้ชายในอุบัติเหตุรถยนต์ชนท้าย

นักวิจัยสวีเดนกล่าวแจ้งว่า ผู้หญิงที่ขับรถ เสี่ยงกับการบาดเจ็บ หากรถถูกชนจากด้านท้าย เพราะคอจะโดนแรงกระชากมากยิ่งกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า

แหล่งที่มา : http://www.dek-d.com
ศาลเพิ่มโทษ ซี8จับนมแอร์

แอร์โฮสเตสการบินไทย ยื่นฟ้องนายชาญชัย พิจิตรภักดีกุล อายุ 72 ปี อดีตข้าราชการระดับ 8 กรมทางหลวง ประธานบริษัทแอดวานซ์ สไปรูลิน่า ไบโอเทคโนโลยี จำกัด ในความผิดฐานกระทำอนาจารบุคคลอายุกว่า 15 ปี โดยใช้กำลัง ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้เพิ่มโทษให้จำเลย ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติมีกำหนด 3 เดือน ต่อ 1 ครั้ง ระยะเวลา 1 ปี และให้ใช้ความรู้ที่มีอยู่บริการสังคมเป็นเวลา 20 ชั่วโมง ส่วนโทษอื่นให้เป็นไปตามศาลชั้นต้นคือจำคุก 15 เดือน ปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษมีกำหนด 2 ปี

แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หญิงไทยครองโสดมากขึ้น แต่งงานช้าลง ปี 2550

ในปี 2550 ที่ผ่านมา บทบาทของผู้หญิงได้รับการยอมรับมากขึ้นในสังคม ส่วนหนึ่งเนื่องมาจาก "ทัศนคติ" และ "ค่านิยม" ของผู้หญิง "สมัยใหม่" ไม่ได้ยึดติดอยู่กับความคิดแบบเดิม คือ "อยู่กับเหย้า เฝ้ากับเรือน" ทำหน้าที่เลี้ยงลูก และดูแลความเรียบร้อยภายในบ้าน แต่ในยุค 2550 นี้ ผู้หญิงต้องมีบทบาทในการ "หารายได้ให้กับครอบครัว" ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น

แหล่งที่มา : วิทยาลัยประชากรศาสตร์
ดูภาพขนาดใหญ่
คุณพ่อยุคใหม่..ใจเกินร้อย


คุณพ่อเมืองเบียร์เต็มใจลาพักงานอยู่บ้านเลี้ยงลูก!!!

ภาพ / บทความโดย : p_jan
การจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายกับการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย

มิติหญิงชาย (gender) เป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ในหลายระดับและในหลายสาขา เนื่องจากเป็นที่ยอมรับจากผลการศึกษาวิจัยจํานวนมากและ ในหลายประเทศว่า การสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้น ผลประโยชน์ที่ได้รับจะเกิดขึ้นกับคนทั้งสังคม ไม่เพียงแค่สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับผู้หญิงเท่านั้น

ภาพ / บทความโดย : พรสม เปาปราโมทย์ สำนักงานกิจกรรมสตรีและสถาบันครอบครัว
การยกเลิกข้อสงวนตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบกับการแก้ไขกฏหมายที่เลือกปฏิบัติต่อสตรี

อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women: CEDAW) เป็นพันธกรณีรูปแบบหนึ่งของสหประชาชาติ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 34 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2522 นับจากนั้นจนถึงเดือนเมษายน 2549 ประเทศต่าง ๆ ได้ให้สัตยาบัน(ratification) หรือภาคยานุวัติ (accession) อนุสัญญานี้แล้ว 185 ประเทศ

ภาพ / บทความโดย : พรสม เปาปราโมทย์ สำนักงานกิจกรรมสตรีและสถาบันครอบครัว
มาตรการกลไกในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย

ปัญหาความรุนแรงต่อสตรีนับเป็นปัญหาสําคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพสตรี สตรีจํานวนมากต้องทนทุกข์จากการถูกทําร้ายทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางเพศ ทั้งในครอบครัว ชุมชน และสังคม จากข้อมูลหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือสตรีที่ถูกกระทํารุนแรง พบว่า สตรีที่ถูกละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะการถูกข่มขืนกระทําชําเรานั้น แม้บาดแผลทางกายจะหายไป แต่บาดแผล ทางใจนั้นยากที่จะเยียวยา ฟื้นฟูให้กลับมาดังเดิมได้ บางรายต้องลาออกจากงาน บางรายต้องหยุดพักการศึกษา พัฒนาการด้านต่าง ๆ ต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้ครอบครัวนั้น ต้องแบกรับภาระการรักษาเยียวยาที่ยาวนาน ผลกระทบเช่นนี้เชื่อมโยงไปถึงโอกาสในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของครอบครัว ชุมชน และสังคมที่ลดลงด้วย โดยพบว่า มีผู้หญิงและเด็กหญิงหลายรายที่ไม่สามารถแบกรับกับความทุกข์ทรมานได้ และหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

ภาพ / บทความโดย : -

1  2  [3]  4