<<  Back     
ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนเจตคติในสังคมไทย
<<  Back  
การเสริมสร้างเจตคติ ด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
การเพิ่มโอกาสการ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองและบริหาร
การส่งเสริมสุขภาวะ และสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์สตรี
การเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรี
   
     การส่งเสริมสุขภาวะและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์สตรี
เป้าประสงค์
 
          สตรีมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตสมบูรณ์ พร้อมที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา
วัตถุประสงค์
 
เพื่อเสริมสร้างเจตคติด้านสุขภาวะและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์สตรี
เพื่อส่งเสริม คุ้มครอง และพัฒนาสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับสตรี
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในสตรี โดยคำนึงถึงเจตคติที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อและการป้องกัน
เพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาสุขภาวะผู้สูงอายุสตรี
เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของสตรี กลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ
เป้าหมาย
 
สตรีกลุ่มต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วิธีการ และการให้บริการสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะด้านอนามัยการเจริญพันธุ์
สตรีกลุ่มต่าง ๆ เข้าถึงบริการสุขภาพอนามัยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านอนามัยการเจริญพันธุ์
มีบริการด้านสุขภาพอนามัยของสตรี กลุ่มเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ สตรีสูงอายุ และสตรีกลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ
ลดอัตราการเจ็บป่วย และเสียชีวิตของสตรีจากโรคสำคัญที่เป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิต ได้แก่ โรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และการดิดชื้อเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการทำแท้ง
แนวทางการพัฒนา
 
การเสริมสร้างเจตคติด้านสุขภาวะและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์สตรี
 
ให้ความรู้แก่สตรีและประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการได้รับบริการด้านสุขภาพอนามัย และสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์สตรี
เสริมสร้างเจตคติที่ถูกต้องแก่วัยรุ่นหญิงและชาย ทั้งในระบบ และนอกระบบการศึกษา เพื่อให้ตระหนักถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง และรับผิดชอบเกี่ยวกับวิถีชีวิตด้านเพศ สุขภาพด้านเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์
ให้ความรู้และแนวทางแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เกี่ยวกับความต้องการบริการสุขภาพที่แตกต่าง ระหว่างหญิงและชาย และผลกระทบการให้บริการ
 
 
อนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับสตรี
 
จัดให้มีการตรวจคัดกรอง ค้นหา และรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านม
ให้ความรู้และบริการสุขภาพด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ และเพศศึกษาแก่กลุ่มสตรีวัยรุ่น ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา
ให้สตรีมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และวิธีการบริการสุขภาพอนามัยเพื่อสตรี
ให้ชายตระหนักและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาวะ และอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี โดยเฉพาะ ในการคุมกำเนิดและการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
จัดบริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการคุมกำเนิดที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพแก่หญิงและชาย
เสริมสร้างการมีส่วนร่วมและขีดความสามารถของภาคีเครือข่าย ในการส่งเสริม และพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี
ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และการเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมาย ที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนามัยการเจริญพันธุ์ และพฤติกรรมเสี่ยงของการมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ปลอดภัยในกลุ่มวัยรุ่น เช่น การควบคุมสื่อลามก การกำหนดพื้นที่ (Zoning) ของสถานเริงรมย์ รวมทั้งการปกป้องสตรีจากการกระทำรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ และการค้ามนุษย์
 
 
การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
 
พัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้เข้าถึงกลุ่มสตรีและวัยรุ่นหญิงชาย
ส่งเสริมให้สตรีที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และการดำเนินงานเกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคเอดส์
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคแก่หญิง ชาย วัยรุ่น และผู้มีอาชีพบริการทางเพศ
สนับสนุนให้มีสวัสดิการช่วยเหลือสตรีที่ติดเชื้อโรคเอดส์ และครอบครัว เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม
เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่ประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับโรคเอดส์ เพื่อลดอคติที่มีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
 
 
สุขภาวะผู้สูงอายุสตรี
 
เตรียมความพร้อมการเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะสตรี ด้วยการให้การศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรื่องการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมอนามัย และความเข้าใจชีวิต และพัฒนาการของช่วงวัยทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา
ส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุสตรีที่มีศักยภาพ ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะตามความถนัด
จัดให้มีโครงสร้างระบบดูแลผู้สูงอายุโดยเน้นการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว และชุมชนที่ตระหนักในมิติหญิงชาย
 
 
สุขภาวะสตรีกลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ
 
ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพ บริการฟื้นฟูสุขภาพกาย และจิตใจ รวมทั้งบริการสวัสดิการสังคมที่จำเป็น โดยปรับปรุงให้การดำเนินการตามนโยบาย มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับสภาพปัญหาของสตรีกลุ่มที่น่าห่วงใยพิเศษมากขึ้น
จัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคม โดยส่งเสริมภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมดำเนินการที่ให้ความสำคัญต่อความแตกต่าง ระหว่างหญิงและชาย และความต้องการของสตรีกลุ่มเฉพาะ