|
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรี |
|
เป้าประสงค์ |
|
สตรีทุกคนได้รับโอกาสและการปฏิบัติอย่างเสมอภาค ในการมีส่วนร่วม และรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ได้รับสิทธิและการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียม และมีหลักประกันทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างทั่วถึง |
|
|
|
วัตถุประสงค์ |
|
|
เพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้สตรีได้รับโอกาสในการเข้าถึง และควบคุมทรัพยากร อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับบุรุษ โดยเฉพาะในด้านสินทรัพย์ที่ดิน การศึกษา การฝึกอบรมข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี ตลาด และบริการทางด้านธุรกิจ |
|
เพื่อให้สตรีได้รับสิทธิการคุ้มครองตามกฎหมาย และมีหลักประกัน ทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างทั่วถึง โดยมีการเตรียมตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้สตรีสามารถประสานบทบาททางเศรษฐกิจ และความรับผิดชอบ ในครัวเรือนได้อย่างเหมาะสม |
|
|
|
|
|
เป้าหมาย |
|
|
จัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ รวมทั้งการฝึกอบรมและการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพ และโอกาสในการประกอบอาชีพแก่สตรีได้อย่างกว้างขวาง และหลากหลายยิ่งขึ้น |
|
สตรีได้รับโอกาสในการเข้าถึงและมีบทบาทในการควบคุมทรัพยากรเศรษฐกิจ ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ |
|
ขยายความคุ้มครองทางเศรษฐกิจ และสังคม ให้ครอบคลุมสตรีทุกกลุ่ม |
|
|
|
แนวทางการพัฒนา |
|
|
การเสริมสร้างศักยภาพสตรี |
|
|
|
เสริมสร้างภาวะผู้นำแก่สตรี เพื่อการประกอบอาชีพและดำรงอยู่ในสังคม |
|
ส่งเสริมและสนับสนุนให้สตรีได้รับการศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบ โดยเฉพาะในสาขาวิชาที่ขาดแคลน เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และวิชาชีพอื่น ๆ |
|
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาครัฐและเอกชน จัดการศึกษาฝึกอบรม และพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีความรู้ และทักษะใหม่ ๆ ในการประกอบอาชีพ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารให้แก่สตรี โดยมีรูปแบบที่หลากหลายทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และให้ความสะดวกแก่สตรี ในการเข้ารับการศึกษาฝึกอบรม และพัฒนาฝีมือแรงงาน |
|
สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ จัดการอบรมการเทียบประสบการณ์แก่แรงงานสตรี ในสถานประกอบการเพื่อยกระดับฝีมือแรงงาน |
|
|
|
|
|
|
|
|
การพัฒนากลไกและโอกาสการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรี |
|
|
ส่งเสริมให้สตรีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร และการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ ในองค์กรทุกระดับ |
|
ผลักดันให้มีบริการการเงิน สินเชื่อ และการลงทุนที่เท่าเทียม และกระจายไปอย่าง กว้างขวาง ในภูมิภาค เพื่อให้สตรีผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เข้าถึงได้โดยสะดวก |
|
ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ข้อมูลด้านการตลาด และช่องทางการประกอบธุรกิจ แก่ผู้ประกอบการสตรี และกลุ่มสตรีที่อยู่ในภูมิภาค |
|
ส่งเสริมให้มีการจัดทำข้อมูลจำแนกเพศหญิงและชาย และเผยแพร่เพื่อให้เป็นแหล่ง ข้อมูล ในการค้นคว้าวิจัย เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดนโยบาย และแผนงานในการ เข้าถึงทรัพยากร ทางเศรษฐกิจของสตรี |
|
สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ นายจ้าง และสถานประกอบการ จัดชั่วโมงการทำงาน ที่ยืดหยุ่น และสถานดูแลเด็กที่เหมาะสม เพื่อให้หญิงและชายสามารถจัดสรรเวลา ในการดูแลครอบครัว และการทำงานได้ |
|
|
|
|
|
|
|
การทบทวน ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ |
|
|
ทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย และกฎระเบียบ เพื่อให้สตรีมีโอกาสเข้าถึง และควบคุมทรัพยากรการผลิตอย่างเสมอภาคกับชาย |
|
แก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบ หรือธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่เอื้อให้สตรีมีโอกาสเข้าถึง และได้รับผลตอบแทนในการประกอบอาชีพได้เท่าเทียมกับผู้ชาย |
|
แก้ไขกฎหมายแรงงาน เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานหญิง ในประเด็นที่มีการเลือกปฏิบัติต่อสตรี ในการเลื่อนตำแหน่งและเกษียณอายุ |
|
เร่งรัดให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ครอบคลุมถึงแรงงานนอกระบบ เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม เป็นต้น โดยเฉพาะผู้ที่รับงานไปทำที่บ้าน และแรงงานภาคเกษตร |
|
|
|
จัดให้มีกลไกคุ้มครองทางสังคมแก่แรงงาน ในรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน และชุมชน |
|
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอน กฎหมาย และสิทธิที่สตรึพึงได้รับการคุ้มครอง รวมทั้งแนวทางในการเรียกร้องสิทธิ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม |
|
|
|
|
|
|
|
|
การวิจัยและพัฒนา |
|
|
สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย เกี่ยวกับคุณค่า และมูลค่าของงาน ที่สตรีทำในครอบครัว และสังคม ทั้งที่มีค่าตอบแทน และไม่มีค่าตอบแทน เพื่อให้คุณค่าและมูลค่าปรากฏ ในนโยบายเศรษฐกิจโดยรวม |
|
เชิดชูสตรีผู้ประกอบการ นายจ้าง และสถานประกอบการที่ส่งเสริมสนับสนุนการทำงาน ของสตรี เพื่อเป็นแบบอย่าง |
|
|
|
|
|