|
การเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย |
|
เป้าประสงค์ |
|
สตรีดำรงชีวิตโดยปราศจากความหวาดกลัวต่อความรุนแรง และได้รับการพิทักษ์ และคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกาย |
|
|
|
วัตถุประสงค์ |
|
|
เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและร่างกายแก่สตรี |
|
เพื่อให้สตรีทุกกลุ่มสามารถดำรงชีวิตอยู่ โดยปราศจากความหวาดกลัว (Freedom From Fear) ตามแนวความคิด ความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) |
|
เพื่อคุ้มครองสตรีทุกกลุ่มวัย และสตรีกลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ ให้มีความมั่นคงในชีวิตและปราศจากความรุนแรง |
|
|
|
|
|
เป้าหมาย |
|
|
ลดอัตราการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัวและชุมชน |
|
ลดการคุกคามทางเพศในทุกรูปแบบ ทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการอาศัยตำแหน่งหน้าที่หรือการจ้างงาน |
|
ลดอัตราสตรีกลุ่มเสี่ยง (สตรีกลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ ที่อาจตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง และการค้ามนุษย์ |
|
เพิ่มโอกาสให้สตรีกลุ่มต่าง ๆ เข้าถึงบริการที่หน่วยงานจัดความช่วยเหลือให้ในระดับต่าง ๆ |
|
เพิ่มจำนวนสตรีและบุรุษที่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสม เกี่ยวกับเรื่องครอบครัวศึกษา เพศศึกษา สิทธิในเนื้อตัวร่างกาย ศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย |
|
|
|
แนวทางการพัฒนา |
|
|
การเสริมสร้างสมรรถนะและความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน |
|
|
|
|
|
เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และเจตคติที่เหมาะสมแก่เจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับศักดิ์ศรี และคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย สิทธิอนามัย การเจริญพันธุ์ พันธสัญญาของรัฐตามรัฐธรรมนูญ และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือก ปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) เพื่อให้บริการ และการคุ้มครองที่สอดคล้องกับ ปัญหา และความต้องการที่แตกต่างระหว่างหญิงและชาย และหญิงแต่ละกลุ่ม |
|
เพิ่มทักษะในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสตรี โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรี และคุณค่า ความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชายแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อให้มีบริการ และการคุ้มครองที่เหมาะสม เป็นธรรม และสดคล้องกับความต้องการของสตรี |
|
|
|
|
ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงต่อความขัดแย้ง เพื่อการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติ โดยบูรณาการ ประเด็นศักดิ์ศรี และคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคระหว่าง หญิงและชาย พันธสัญญาของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ ต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) |
|
|
|
ให้มีการปกป้อง คุ้มครอง และจัดบริการโดยเฉพาะแก่สตรี กลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ |
|
ให้สตรีกลุ่มที่ประสบปัญหาเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การวางแผนป้องกัน และการช่วยเหลือทุกระดับ |
|
จัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติงาน ในการให้ความช่วยเหลือสตรีกลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ โดยคำนึงถึงปัญหา และความต้องการที่แตกต่างระหว่างหญิงและชาย |
|
|
|
|
|
|
|
|
การเสริมสร้างสมรรถนะและความเข้าใจแก่หน่วยงาน |
|
|
เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักเรื่องศักดิ์ศรีและคุณค่า ความเป็นมนุษย์ อคติทางเพศแก่เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม |
|
ส่งเสริมและเร่งรัดให้หน่วยงานที่ดำเนินการด้านการคุ้มครองทางสังคม มีนโยบาย/ แผนงาน/ โครงการ และบริการที่คำนึงถึงสภาพปัญหา และความต้องการของสตรี โดยเฉพาะสตรี กลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ |
|
ทบทวนขอบเขตและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ของการคุกคามทางเพศในทุกรูปแบบ รวมทั้งการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง |
|
ขยายพื้นที่การให้บริการ และพัฒนารูปแบบการทำงานให้มีการช่วยเหลือ อย่างทั่วถึงในทุกระดับ (ระดับชุมชน จังหวัด ภูมิภาค และประเทศ) เพื่อให้สตรีที่ตกเป็นเหยื่อเข้าถึงบริการ ได้ทันเวลา และได้รับบริการที่คำนึงถึงศักดิ์ศรี และคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคระหว่าง หญิงและชาย |
|
เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานสอบสวน ที่เป็นสตรี |
|
จัดตั้งกองทุนระดับชาติสำหรับการป้องกัน และแก้ไขความรุนแรงต่อสตรี โดยเฉพาะต่อสตรีกลุ่มเสี่ยง |
|
|
|
|
|
|
|
การพัฒนากลไกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย |
|
|
|
|
|
ตรวจสอบและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรการทางสังคม เพื่อป้องกันสตรีจากการคุกคามทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ และความรุนแรง รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ |
|
เพิ่มประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของสตรี ความเสมอภาคระหว่งหญิงและชาย และการคุ้มครองสตรีทุกกลุ่มและช่วงอายุ โดยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนรัฐวิสาหกิจ และประชาสังคมในการบังคับใช้กฎหมาย |
|
ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม และการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในการเสริมสร้าง ความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การวิจัยและพัฒนา |
|
|
ศึกษาและวิจัยปัจจัยที่นำไปสู่ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ การแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมาย |
|
เชิดชูบุคคล องค์กรที่ปฏิบัติงานดีเด่นทางด้านเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิต และร่างกาย เพื่อเป็นแบบอย่าง |
|
|
|
|
|